โบท็อกซ์ (Botox) สารพิษในไส้กรอก อาวุธชีวภาพ สู่การนำมาใช้เพื่อความงาม

โบท็อกซ์ (Botox) สารพิษในไส้กรอก อาวุธชีวภาพ สู่การนำมาใช้เพื่อความงาม
**ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับสภาพผิวของแต่ละบุคคล

รู้หรือไม่? ว่าชื่อ โบท็อกซ์ (Botox) ที่เราคุ้นเคย เป็นเพียงชื่อทางการค้าของสารชีวพิษโบทูลินัม หรือ Botulinum Toxin ซึ่งถูกค้นพบครั้งแรกจากไส้กรอกตั้งแต่เมื่อ 200 กว่าปีที่แล้ว แถมยังเคยถูกนำมาพัฒนาเป็นอาวุธชีวภาพในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกด้วย! …ดูๆ ไปแล้วเจ้าสาร Botulinum Toxin หรือ โบท็อกซ์ (Botox) ไม่น่าจะวิวัฒนาการมาสู่วงการความงามได้เลย แต่เพราะอะไรสองร้อยกว่าปีต่อมาหลังจากถูกค้นพบจากไส้กรอก โบท็อกซ์ (Botox) ถึงได้กลายเป็นทรีตเมนต์เพื่อความงามที่ได้รับความนิยมเป็นกันดับต้นๆ ในโลกได้กันล่ะ?

ประวัติศาสตร์โบท็อกซ์ (Botox)

Botulinum Toxin หรือ โบท็อกซ์ (Botox) ถูกค้นพบครั้งแรกในช่วงปีค.ศ. 1795-1813 หรือเทียบได้กับช่วงยุคสมัยของสงครามนโปเลียน ซึ่งมีการบันทึกไว้ว่าเกิดการระบาดของโรคสารพิษที่มาจากไส้กรอก หรือโรคโบทูลิซึม (Botulism) ส่งผลให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง และมีอาการอัมพาตชั่วคราว ด้วยการระบาดของโรคนี้เองจึงถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ “Justinus Kerner” นักสาธารณสุขชาวเยอรมันค้นพบสารที่ส่งผลต่อกล้ามเนื้อและระบบประสาท หรือที่กำลังจะมีชื่อเรียกว่า Botulinum Toxin ในอีกประมาณ 70 กว่าปีให้หลัง ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่มีความสำคัญมาก เพราะนอกจากจะเป็นการค้นพบครั้งแรกแล้ว Justinus Kerner ยังได้ทำการค้นคว้าวิจัยสารพิษดังกล่าวนี้ต่อทั้งกับสัตว์ทดลอง รวมไปถึงกับตัวของเขาเองด้วย จนพบว่าสารพิษที่สกัดออกมาจากไส้กรอกส่งผลให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและเหงื่อไม่ออกตามร่างกาย หากนำมาใช้ในปริมาณเล็กน้อยก็อาจสามารถรักษาความผิดปกติของระบบประสาทได้ ซึ่งต่อมาอีก 200 ปี ผลการค้นคว้าวิจัยของเขาก็ถูกนำมาต่อยอดจนกลายเป็นการฉีดโบท็อกซ์ (Botox) เพื่อการรักษาความผิดปกติของกล้ามเนื้อได้จริงอย่างในปัจจุบัน

Justinus Kerner
Emile-Pierre van Ermengem

ต่อมาในช่วงปี ค.ศ. 1895 “Emile-Pierre van Ermengem” นักจุลชีววิทยาชาวเบลเยี่ยม ได้มีการค้นพบเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคโบทูลิซึม (Botulism) ว่าสาเหตุของอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ยังยั้งไม่ให้เหงื่อออก มาจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า คลอสตริเดียม โบทูลินัม (Clostridium Botulinum) และได้เกิดชื่อเรียกของสาร Botulinum Toxin ขึ้นมา

อย่างไรก็ตามประวัติศาสตร์โบท็อกซ์ (Botox) ในลำดับถัดมาก็ยังไม่ได้ระบุว่า Botulinum Toxin ถูกนำมาเพื่อใช้ในทางความงามหรือทางการแพทย์แต่อย่างใด ทว่ากลับถูกนำมาทดลองและพัฒนาเพื่อใช้เป็นอาวุธชีวภาพในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 !

โดยในปีค.ศ. 1944 นักชีวเคมีที่ชื่อว่า “Dr. Edward J. Schantz” ได้ทดลองสกัดแยกสารพิษ Botulinum Toxin ให้อยู่ในรูปแบบ Crystalline form หรือลักษณะเป็นผลึกได้สำเร็จ ซึ่งอย่างที่ทราบกันดีว่าการออกฤทธิ์ของ Botulinum Toxin จะไปสกัดกั้นการหลั่งของสารสื่อประสาท โดยการปิดกั้นเส้นประสาทจากการส่งสัญญาณไปยังกล้ามเนื้อทำให้เป็นอัมพาตในระยะสั้น เมื่อถูกพัฒนาให้อยู่ในรูปแบบ Crystalline ได้แล้ว Dr. Schantz จึงได้คิดต่อยอดการวิจัยนำ Botulinum Toxin ไปใช้เป็นอาวุธชีวภาพในสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกด้วย แต่สุดท้ายแล้วก็ไม่ได้มีข้อมูลว่าถูกนำมาใช้ในสงครามโลกแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตามยังคงมีรายงานว่าบางประเทศได้มีการพัฒนา Botulinum Toxin เพื่อเป็นอาวุธชีวภาพเพื่อใช้ในทางการสงคราม โดยบรรจุสาร Botulinum Neurotoxin ไว้ในระเบิด กระสุน รวมถึงรูปแบบการทำให้เป็นละอองกระจายในอากาศ แต่แน่นอนว่าบทสรุปของเรื่องการใช้ Botulinum Toxin หรือ โบท็อกซ์ (Botox) ในบทบาทของอาวุธชีวภาพก็ได้ถูกยุติลงเมื่อสหประชาติชาติได้กำหนด อนุสัญญาห้ามอาวุธชีวะ (Biological and Toxins Weapons Convention : BWC) ซึ่งมีสาระสำคัญระบุว่าห้ามรัฐภาคีพัฒนา ผลิต สะสมอาวุธชีวะ และต้องทำลายอาวุธชีวะในครอบครองด้วย โดยอนุสัญญาฉบับนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 1975 โดยไม่ได้ระบุระยะเวลาสิ้นสุด

จากจุดเริ่มต้นในบทบาทตัวร้ายของสารพิษที่ทำให้เกิดโรค สู่อาวุธชีวภาพที่เกือบจะถูกนำมาใช้ในสงครามโลก ในที่สุด Botulinum Toxin ก็ได้รับบทคนดีเสียที เมื่อถูกนำมาใช้ในวงการแพทย์ในด้านการรักษา

ตั้งแต่ค้นพบสารชีวพิษโบทูลินัม หรือ Botulinum Toxin จนถึงปัจจุบัน โรคโบทูลิซึม (Botulism) ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า คลอสตริเดียม โบทูลินัม (Clostridium Botulinum) ก็ยังคงถูกพบจากการปนเปื้อนมากับอาหารซึ่งถูกพบมากในอาหารกระป๋องที่ไม่ได้มาตรฐานและขวดโหลของหมักดอง รวมถึงการเข้าสู่ร่างกายผ่านทางบาดแผล ส่งผลต่อระบบประสาท  ทำให้เกิดอาการอัมพาตชั่วคราว กล้ามเนื้ออ่อนแรง และอาจอันตรายถึงชีวิตได้ แต่อย่างไรก็ตามในวงการแพทย์ก็ต่างเล็งเห็นว่าอาจสามารถนำ Botulinum Toxin มาใช้ในปริมาณน้อยๆ อย่างเหมาะสมและอยู่ในการดูแลของแพทย์ ก็อาจสามารถช่วยในการรักษาได้

Dr. Edward J. Schantz
Dr. Alan Brown Scott

ในช่วงปีค.ศ.1970 จักษุแพทย์ ชาวอเมริกัน “Dr. Alan Brown Scott” ก็ได้ทำการค้นคว้าวิจัย และทดลองร่วมกับ “Dr. Schantz” (ซึ่งก็คือคนเดียวกับที่ทดลอง Botulinum Toxin เป็นอาวุธชีวภาพนั่นเอง) จนพบว่าพิษของ Botulinum Toxin สามารถนำมาใช้ในการรักษาอาการผิดปกติของกล้ามเนื้อในมนุษย์ได้ และประสบความสำเร็จในการนำมาใช้รักษาอาการตาเหล่ ตาเข ได้ในที่สุด และต่อยอดนำมาช่วยในการรักษาโรคกล้ามเนื้อบนใบหน้ากระตุก โรคไมเกรน อาการเหงื่อออกมากผิดปกติ ได้ประสบผลสำเร็จในลำดับถัดมา

กว่าสองร้อยปีที่รอคอย ในที่สุดเราก็จะได้ “ฉีดโบ” กันเสียที

ช่วงปีค.ศ. 1987 ในที่สุดก็มาถึงจุดเริ่มต้นของการนำ Botulinum Toxin มาใช้เพื่อความงามเสียที ซึ่งคุณอาจต้องขอบคุณแพทย์สองสามีภรรยาชาวแคนาดาคู่นี้อย่างสุดซึ้ง ที่ช่วยให้เราได้รู้จักกับ โบท็อกซ์ (Botox) อย่างในปัจจุบัน

ซึ่งเรื่องราวที่จะต้องจารึกเป็นตำนานให้คนรุ่นหลังผู้รักการ “ฉีดโบ” ต้องเล่าขานสืบไปเกิดขึ้นในตอนที่ “Dr. Jean Carruthers” ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมพลาสติก และ “Dr. J. Alastair Carruthers” แพทย์ผิวหนัง ได้ไปที่ห้องปฏิบัติการของ Dr. Alan Brown Scott ทำให้แพทย์ผิวหนังอย่าง Dr. J. Alastair ตั้งข้อสังเกตว่าเมื่อใช้ Botulinum Toxin เพื่อรักษาอาการตาเหล่ ตาเข ตากระตุกแล้ว ผิวหนังบริเวณนั้นเองก็ได้รับผลข้างเคียงทำให้ริ้วรอยย่นจากการขมวดคิ้วดูน้อยลงกว่าช่วงก่อนการรักษา

Dr. Jean/ Dr. J. Alastair Carruthers

แพทย์สองสามีภรรยา Carruthers จึงเริ่มทำการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลลัพธ์ของ Botulinum Toxin เพื่อต่อยอดนำไปใช้ในด้านเสริมความงาม และก็ได้มีการวิจัย รวมไปถึงการตีพิมพ์บทความวิชาการเรื่องการนำ Botulinum Toxin มาใช้ในด้านความงามเป็นครั้งแรก

แล้วชื่อ โบท็อกซ์ (Botox) มาจากไหน???

ถึงแม้ Botulinum Toxin จะได้รับการวิจัยว่าสามารถนำมาใช้เพื่อการเสริมความงามอย่างการช่วยลดริ้วรอยได้แล้ว แต่ก็ยังไม่ได้มีชื่อเรียกว่าโบท็อกซ์ (Botox) ในแบบที่เราคุ้นเคยอยู่ดี เพราะที่จริงแล้วชื่อ โบท็อกซ์ (Botox) นั้นเป็นชื่อทางการค้าของสาร Botulinum Toxin A จากบริษัท Allergan ประเทศสหรัฐอเมริกา หรือถ้าจะบอกให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือชื่อ โบท็อกซ์ (Botox) ก็เปรียบเทียบได้กับการที่เราเหมารวมเรียกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปทุกยี่ห้อว่า มาม่า นั่นเอง

แต่นอกจากความคุ้นเคยในชื่อโบท็อกซ์ (Botox) ของบริษัท Allergan ประเทศสหรัฐอเมริกาแล้ว Botulinum Toxin A ภายใต้ชื่อทางการค้าอื่นๆ ก็ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน ทั้งยี่ห้อจากประเทศเกาหลี อังกฤษ เยอรมัน ต่างก็ได้รับการยอมรับจาก US FDA และ อย. ไทย ในการนำมาใช้ทางการแพทย์และเสริมความงามในโรงพยาบาล รวมถึงคลินิกเวชกรรมด้วยเช่นกัน

ที่ Sinota Clinic เราเลือกใช้ Botulinum Toxin A ยี่ห้อชั้นนำทั้งจากอเมริกาและอังกฤษ ช่วยแก้ปัญหารูปหน้า ลดริ้วรอย ลดอายุ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมดูแลด้วยแพทย์เฉพาะทางด้านผิวหนังเชี่ยวชาญประสบการณ์สูงทุกเคส เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ปลอดภัย ไม่ดื้อโบ ด้วยผลิตภัณฑ์ Botulinum Toxin A ของแท้ คุณภาพสูง

เพราะปัญหาผิวพรรณและความงามทั่วเรือนร่างเป็นสิ่งสำคัญ ปรึกษา Sinota Clinic เพื่อมาร่วมเติมแต่งเอกลักษณ์ความงามของคุณให้เป็นที่จดจำ

สถานที่ให้บริการ

982/22 อาคารศูนย์การค้าเกตเวย์ เอกมัย ชั้น 5 โซนสำนักงาน ห้องเลขที่ 5111-5112 ถ.สุขุมวิท พระโขนง คลองเตย กทม.10110

โทร : 064-239-3291 (HOTLINE : 24 Hr.)
อีเมล์ : info@sinotaclinic.com
เวลาทำการ : ทุกวัน 10.00 – 19.00 น.